วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

หมวดหมู่: วัดไทย

วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1] อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใกล้สะพานกษัตริย์ศึกและสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) อยู่รวมกับ "โรงเรียนเทพศิรินทร์"

ความเป็นมาและสถานที่สำคัญภายในวัด

 

ความเป็นมาและชื่อวัด

Back

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อ พ.ศ. 2419 ขณะมีพระชนมายุครบ 25 พรรษาพอดี เพื่อทรงเฉลิมพระเกียรติและอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งได้เสด็จสวรรคตตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ยังทรงพระเยาว์

วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2421 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาพระอริยมุนีมาจากวัดบวรนิเวศ พร้อมด้วยพระฐานานุกรม 3 รูป พระอันดับ 16 รูป สามเณร 3 รูป รวม 23 รูป มาอยู่วัดนี้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศล แล้วประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมาและพระราชทานนามอารามแห่งนี้ว่าวัดเทพศิรินทราวาส ตามพระนามแห่งองค์พระราชชนนี

ความเป็นมาและชื่อวัด
ความเป็นมาและชื่อวัด
 

 

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์

Back

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นฌาปนสถานสำหรับพระราชทานเพลิงพระราชวงศ์ที่ไม่ได้สร้างพระเมรุที่ท้องสนามหลวง พระศพเจ้านายฝ่ายใน ราชนิกุล ขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ
 
โดยเมื่อใช้ในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายจะออกหมายเรียกว่า "พระเมรุ" และถ้าเป็นเจ้านายที่มีพระเกียรติยศสูง เป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจมีการปรับปรุงประดับตกแต่งโดยรอบให้สมพระเกียรติยศ เช่น กางกั้นด้วยฉัตรตามพระเกียรติยศ มีการประดับด้วยฉัตรดอกไม้สดโดยรอบ สร้างซ่างไว้สำหรับพระพิธีธรรมสวด จัดตกแต่งสวนหย่อมให้เป็นป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพระเมรุถวายเพลิงพระบุพโพของพระบรมวงศ์สำคัญที่บรรจุพระบรมศพหรือพระศพลงพระโกศ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปสร้างพระเมรุดาดผ้าขาวที่วัดมหาธาตุ เช่น พระบุพโพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระบุพโพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และ พระบุพโพ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6

เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
 

 

สถาปัตยกรรมสำคัญ

Back

โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ฯ ในบริเวณเดียวกับวัดเทพศิรินทร์นั่นเอง หากใครที่เดินผ่านเข้ามาจากทางด้านหน้าโรงเรียนก็คงจะสังเกตเห็นตึกรูปทรงแบบยุโรปทาด้วยสีชมพูออกเลือดหมู อ่านตัวอักษรได้ว่าเป็นตึก “แม้นศึกษาสถาน” และตึก “โชฏึกเลาหะเศรษฐี”
 
อาคารสองหลังนี้ก็เป็นอาคารเรียนหลังแรกๆ โดยตึกแม้นศึกษาสถานนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ พระราชโอรสองค์เล็กในองค์สมเด็จพระนางเจ้าเทพศิรินทราบรมราชินีทรงมีดำริจะสร้างถาวรวัตถุขึ้นภายในวัดเทพศิรินทราวาส เพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่พระราชมารดา อีกทั้งหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ได้ถึงแก่อสัญกรรมลง จึงทรงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ 5 สร้างอาคารเรียนขึ้น แต่ตึกที่เห็นปัจจุบันนี้เป็นตึกใหม่ เพราะตึกหลังเก่าได้ถูกระเบิดทำลายเสียหายเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการบูรณะนั้นก็ได้คงรูปแบบเดิมคือเป็นตึกสไตล์ยุโรปแบบกอธิคเอาไว้

“แม้นศึกษาสถาน” และตึก “โชฏึกเลาหะเศรษฐี”
“แม้นศึกษาสถาน” และตึก “โชฏึกเลาหะเศรษฐี””
 

วัดเทพศิรินทร์ฯจึงถือเป็นพระอารามหลวง ที่มีสิ่งสำคัญต่างๆ ภายในวัดมากมาย ฉันเดินเข้ายังวัดจากบริเวณถนนหลวง หน้าโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ก่อนจะผ่านเข้าไปสู่พระอุโบสถ ก็ต้องผ่านศาลาเล็กๆ อ่านป้ายได้ว่าเป็น “วิหารอัฐิท่านเจ้าคุณนรฯ” ซึ่งเจ้าคุณนรฯท่านนี้ก็คือพระยานรรัตนราชมานิต ต้นห้องใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตไปแล้ว พระยานรรัตน์ฯก็ได้บวชหน้าไฟถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 6 ที่วัดเทพศิรินทร์ฯ และไม่สึกอีกเลยตราบจนมรณภาพ ผู้คนยกย่องท่านว่าเป็นพระอริยสงฆ์ที่เคร่งครัดในศีลจารวัตรธรรมวินัย จึงมีผู้คนเคารพศรัทธาแม้เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วเกือบ 40 ปี
 
"จาตรนตอนุสสารี” นี้ก็คืออนุสสรณีย์ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ “ภาณุรังษีอนุสสร” ก็คืออนุสสรณีย์ของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็เป็นพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 และภายในอนุสสรณีย์นี้ก็ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์ และพระสรีรังคารของทั้งสองพระองค์เอาไว้

จาตรนตอนุสสารี และ ภาณุรังษีอนุสสร
จาตรนตอนุสสารี และ ภาณุรังษีอนุสสร
 

อีกทั้งบริเวณตรงข้ามกับอนุสสรณีย์ก็ยังมีต้นโพธิ์สูงใหญ่ มีการทำฐานล้อมรั้วไว้อย่างสวยงาม ดูแล้วต้องมีความสำคัญ ซึ่งต้นโพธิ์นั้นก็พันธุ์จากต้นพระศรีมหาโพธิของวัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดอยุธยา ที่นำพันธุ์มาจากเมืองพุทธคยาอีกทีหนึ่ง รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเพาะเมล็ด ต่อมาเมื่อเมล็ดเติบโตเป็นต้นแล้วพระองค์จึงทรงโปรดเกล้าฯให้เชิญไปปลูกที่วัดเทพศิรินทร์

ต้นพระศรีมหาโพธิของวัดนิเวศธรรมประวัติ
ต้นพระศรีมหาโพธิของวัดนิเวศธรรมประวัติ
 

 

การเดินทาง

Back

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 47 ท่าเรือคลองเตย-กรมที่ดิน (ราชินี,) 508 ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์, 53 วงกลมรอบเมือง-เทเวศน์
ข้อมูลทัวไป
ชื่อ : วัดเทพศิรินทร์
ที่อยู่ : เลขที่ 1464 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
เบอร์โทร :
 

อ้างอิง

 

Creator : ธีรทัศน์ โรจนนาค Teeratus Rojananak October 09, 2020

Editor :

 

12 ตุลาคม 2563

ผู้ชม 2517 ครั้ง