วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

หมวดหมู่: วัดไทย

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บางคนอาจคิดว่าเป็น วัดราชนัดดาราม ราชวรวิหารเนื่องจากมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ อยู่ตรงบริเวณลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ใกล้ๆ กับวัดราชนัดดาราม แต่จริงๆ แล้ววัดประจำรัชกาลที่ ๓ คือ “วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร” หรือ “วัดราชโอรสาราม” หรือ “วัดราชโอรส” วัดราชโอรสาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเดิมเรียกว่า ‘วัดจอมทอง’ บ้าง ‘วัดเจ้าทอง’ บ้าง หรือ ‘วัดกองทอง’ บ้างมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ทรงสถาปนา “วัดราชโอรสาราม” นั้น สืบเนื่องจากบริเวณนี้เป็นนิวาสสถานของพระประยูรญาติ ข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีของพระองค์ คือ กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒) ธิดาของพระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน (บุญจัน) ซึ่งมีจวนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่ตั้งวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน กับคุณหญิงเพ็ง ซึ่งเป็นธิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง) บ้านอยู่ข้างวัดหงส์รัตนาราม และท่านชู ท่านชูนี้เป็นพระปัยยิกา (ยายทวด) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่าเป็นธิดาของคฤหบดีชาวสวน มีนิวาสสถานอยู่แถววัดหนัง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของวัดจอมทอง โดยมีคลองบางหว้าคั่นอยู่บริเวณสองฟากคลองด่าน และคลองบางหว้า ซึ่งมีวัดอยู่ ๓ วัดคือ วัดจอมทอง วัดหนัง และวัดนางนอง จึงมีพวกชาวสวนผู้เป็นวงศาคณาญาติของท่านชู อยู่จำนวนมาก และกล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นพระประยูรญาติข้างฝ่ายพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น

ความเป็นมาและสถานที่สำคัญภายในวัด

 

ความเป็นมาและชื่อวัด

Back

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาวาส

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
 

 

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร

Back

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นพระประธานปางสมาธิ ที่ฐานพระประธานเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
 

 

พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร

Back

พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น รัชกาลที่ ๔ ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร”เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีสัดส่วนงดงามมาก วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลวพระรัศมีได้ ๒๐ เมตร สูง ๖ เมตร พระเขนยสี่เหลี่ยม ใต้พระเศียรซ้อน ๗ พระเขนยลงรักปิดทองประดับกระจกสีฐานชุกชีประดับลวดลายสวยงาม ชั้นบนประดับปูนปั้นลายกลีบบัวรวนกลีบยาวติดกระจกสี

พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร
พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร
 

 

พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท

Back

พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท พระประธานในศาลาการเปรียญ เป็น พระพุทธรูปปั้นถือตาลปัตรปางประทานพระธรรมเทศนา

พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท
พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท
 

นอกจากนี้ ภายในศาลาการเปรียญยังเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง สลักจากหิน อันมีลักษณะคล้ายๆ กับที่อยู่ในพระมณฑปพระพุทธบาทจำลองของวัดอรุณราชวรารามแม้ว่าสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวัดราชโอรสแห่งนี้จะเป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นศิลปะแบบ “พระราชนิยม” ของรัชกาลที่ ๓ เกือบแทบทั้งหมด แต่ก็ยังคงคุณค่าของความเป็นวัดไทยไว้ได้อย่างงดงาม และถือเป็นมรดกอันสำคัญชิ้นหนึ่งของแผ่นดิน

รอยพระพุทธบาทจำลอง
รอยพระพุทธบาทจำลอง
 

 

พระสงฆ์สวดปาฏิโมขก์ในพระอุโบสถ

Back

พระสงฆ์สวดปาฏิโมขก์ในพระอุโบสถ เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา

พระสงฆ์สวดปาฏิโมขก์ในพระอุโบสถ
พระสงฆ์สวดปาฏิโมขก์ในพระอุโบสถ
 

 

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์

Back

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีอีกชื่อเรียกกันว่า “พระวิหารพระนอน”ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกันแต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ ไม่เพียงเฉพาะพระอุโบสถเท่านั้น แต่พระวิหารพระนอนก็มีศิลปะแบบจีนอันโดดเด่นเช่นกันตรงที่ประตูทางเข้าไปสู่พระระเบียงนั้น เจาะเป็นช่องกลมเหมือนประตูจีน ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำสิ่งดีงามให้แก่ผู้ที่ผ่านประตูนี้เข้ามาครั้นเมื่อเข้าไปด้านในแล้ว บริเวณบันไดทางขึ้นพระวิหาร มี แผงกระเบื้องเคลือบกังไสแบบจีน ภายในมีตุ๊กตาที่คงจะแสดงถึงเรื่องราวต่างๆ น่าเสียดายที่หักพังไปมากแล้วจนไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไรภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น รัชกาลที่ ๔ ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จ สรรเพชญพุทธบพิตร”เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีสัดส่วนงดงามมาก วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลวพระรัศมีได้ ๒๐ เมตร สูง ๖ เมตร

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
 

 

เจดีย์ 32 องค์รอบพระวิหาร

Back

โดยรอบลานพระวิหารมี หมู่พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ประดิษฐานอยู่ 32 องค์ ที่ผนังด้านนอกพระระเบียงของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มี แผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาแผนโบราณและตำราหมอนวดติดไว้เป็นระยะๆ รอบพระระเบียงทั้งสี่ด้าน จำนวนทั้งสิ้น ๙๒ แผ่นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

เจดีย์ 32 องค์รอบพระวิหาร
เจดีย์ 32 องค์รอบพระวิหาร
 

 

การเดินทาง

Back

รถประจำทางที่ผ่าน สาย 43, 120 และรถประจำทางปรับอากาศ สาย ปอ.พ. 9

อ้างอิง

 

Creator : ธีรทัศน์ โรจนนาค Teeratus Rojananak October 06, 2020

Editor :

 

08 ตุลาคม 2563

ผู้ชม 3914 ครั้ง