มรณานุสสติกัมมัฏฐาน

หมวดหมู่: พระธรรม

ความระลึกเนืองๆ เกิดขึ้นปรารภมรณะ ชื่อว่า มรณานุสสติ คำนี้เป็นชื่อของสติอันมีความขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิตเป็นอารมณ์

คำว่า มรณะ คือ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ความขาดสูญแห่งวัฏฏทุกข์ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ความแตกดับชั่วขณะของสังขารทั้งหลาย แต่ในที่นี้ประสงค์เอามรณะ ๒ อย่าง คือ

๑. กาลมรณะ คือ การสิ้นบุญ หรือการสิ้นอายุ และ ๒. อกาลมรณะ คือ อำนาจกรรมที่เขาตัดรอนกรรม เพราะกรรมอันเป็นเหตุทำให้วิบากนั้นเต็มที่แล้ว เรียกว่าการสิ้นบุญ การสิ้นอายุขัยเหมือนอายุของคนนี้ เพราะไม่มีสมบัติ ได้แก่ คติ กาล อาหาร เป็นต้น เรียกว่า มรณะด้วยการสิ้นอายุ ส่วนมรณะที่มีแก่สัตว์ที่มีอำนาจอื่นมาตัดรอน เช่น การถูกประหาร จากกรรมเมื่อชาติก่อน เรียกว่า อกาลมรณะ ซึ่งมรณะทั้งหมดนี้ กล่าวคือ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

การเจริญมรณานุสสตินั้น คือ ไปในที่ลับหลีกเร้น มนสิการโดยแยบคายว่า มรณะจะมี ชีวิตินทรีย์จะขาด หรือว่า ตายตาย การมนสิการให้แยบคายนั้นนั้นมีความสำคัญ เพราะเมื่อมนสิการโดยไม่แยบคายแล้ว เวลาระลึกถึงคนตายของคนที่ชอบพอกันจะเกิดความโศกเศร้า เวลาระลึกถึงคนตายของคนที่ไม่ชอบก็จะเกิดความสุขปราโมทย์ เวลาระลึกถึงคนตายที่เป็นกลางต่อกันก็จะเกิดความสลด สังเวช และญาณ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดกับผู้ปราศจากสติ แต่เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย มีสติอย่างนี้ นิวรณ์กิเลสทั้งหลายก็จะระงับลง มีมรณสติเป็นอารมณ์ตั้งมั่น สามารถทำให้เกิดกัมมัฏฐานขึ้นถึงอุปจารฌานได้ สำาหรับผู้ที่ไม่มีกัมมัฏฐานถึงอุปจารฌาน ควรระลึกถึงความตายโดยอาการเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ

เนื้อหา

 

โดยปรากฏเหมือนเพชฌฆาต

Back

โดยปรากฏเหมือนเพชฌฆาต เปรียบเหมือนเพชฌฆาตคิดจะตัดศีรษะคน ฉวยดาบจ่ออยู่ที่คอยืนประชิดตัว แม้ความตายก็เหมือนกัน เพราะความตายมาพร้อมกับความเกิด เมื่อเกิดมาแล้วก็ย่อมเอาความตายมาด้วย เหมือนกับเห็ดหัวงูตูมๆ ที่เอามีฝุ่นติดหัวขึ้นมา

 

โดยวิบัติจากสมบัติ

Back

สมบัติในโลกนี้ย่อมงดงามอยู่ได้ชั่วเวลาที่ความวิบัติยังไม่ได้ครอบงำ แต่ขึ้นชื่อว่าสมบัติแล้วก็ย่อมที่จะไม่พ้นความวิบัติไปได้ เหมือนพระราชาผู้ปกครองแผ่นดินอีกอย่าง ความไม่มีโรคนั้นมีความเจ็บป่วยเป็นที่สุด ความเป็นหนุ่มมีความแก่เป็นที่สุด ชีวิตทั้งหมดมีความเป็นที่สุด

 

โดยนำมาเปรียบเทียบกับตนพร้อมทั้งคนอื่นๆ

Back

โดยนำมาเปรียบเทียบ นำมาเปรียบเทียบกับตนพร้อมทั้งคนอื่นๆ ว่า ความตายเปรียบเทียบกับอาการ ๗ อย่าง คือ

(๑) เป็นผู้มียศใหญ่ ท่านผู้มียศใหญ่ เป็นท้าวพระพญาผู้ประเสริฐ เป็นต้นท่านเหล่านั้นยังต้องตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๒) เป็นผู้มีบุญมาก เศรษฐีต่างๆ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญมาก ท่านเหล่านั้นก็ต้องตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๓) เป็นผู้มีกำลังมาก พระวาสุเทพ พระพลเทพ แม้นักมวยปล้าชื่อจานุระแม้จะได้ชื่อลือนามว่าเป็นผู้มีกำลังมาก ก็ต้องสู่อ านาจแห่งความตาย อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๔) เป็นผู้มีฤทธิ์มาก พระอัครสาวกผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย สามารถทำให้ปราสาทหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ท่านก็ยังเข้าปากของความตายเหมือนกับเข้าสู่ปากราชสีห์ อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๕) เป็นผู้มีปัญญามาก ยกเว้นพระพุทธเจ้า สัตว์อื่นๆ นั้นมีปัญญาไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของพระสารีบุตร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพระอัครสาวกที่มีปัญญามาก ท่านก็ยังถึงแก่ความตายอย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๖) เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า พุทธบุคคลเหล่านั้นได้ทำการทำลายกิเลสทั้งปวงได้แล้ว ด้วยปัญญาและวิริยะของตน จนสามารถตรัสรู้เอง ก็ยังไม่พ้นความตายไปได้ อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ
(๗) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ เป็นผู้มียศใหญ่ มีบุญมาก มีกำลังมาก มีฤทธิ์มากมีปัญญาที่ไม่มีใครเสมอได้ ไม่มีใครจะมาเปรียบเทียบได้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เองพระองค์ก็ยังต้องทรงระงับขันธปรินิพพาน อย่างเราทั้งหลายคงไม่ต้องกล่าวให้ป่วยการ

 

โดยเป็นกายแก่หมู่หนอนทั้งหลาย

Back

โดยเป็นกายแก่หมู่หนอนทั้งหลาย คือ ร่างกายนี้เป็นของสาธารณะ มีแต่หมู่หนอน ๘๐ ครอก ที่กัดกินผิวหนัง เอ็น กระดูก เป็นต้น หนอนเหล่านี้เกิด แก่ และก็ตายในร่างกายถ่ายของเสียในร่างกายนี้ ร่างกายจึงเปรียบเหมือนเรือนคลอด โรงพยาบาล เป็นสุสาน เป็นส้วมของหมู่หนอน ถ้าหมู่หนอนเหล่านี้กำเริบขึ้นก็ถึงแก่ความตาย

 

อธิบายโดยอายุทุพลภาพ

Back

อธิบายโดยอายุทุพลภาพ คือตามธรรมดาอายุนั้นไม่แข็งแรง อ่อนแอ อยู่ได้ด้วยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ความร้อน ความเย็น มหาภูต อาหาร แต่เมื่อไม่มีลมหายใจนี้แล้วก็ย่อมได้ชื่อว่าตาย เมื่อลมเข้าอย่างเดียวก็ตาย ลมออกอย่างเดียวก็ตาย โดนร้อนจัดก็ตาย โดยเย็นจัดก็ตายคนแข็งแรงก็ต้องมีร่างแข็งกระด้วงเน่าเช่นกัน

 

อธิบายโดยไม่มีเครื่องหมายในสภาวธรรม ๕

Back

๖. อธิบายโดยไม่มีเครื่องหมาย คือ ไม่มีขอบเขตกำหนด ในสภาวธรรม ๕ ประการได้แก่ ชีวิต พยาธิ กาลเวลา สถานที่ทอดทิ้งกาย คติ เหล่านี้ไม่เครื่องหมายบ่งบอก ไม่มีใครรู้ว่าจะชีวิตอยู่กี่ปี อาจจะตายตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิด หรือตั้งแต่เป็นชิ้นเนื้ออยู่ในครรภ์ และยังมีโรคต่างๆ ที่จะเกิดซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าจะตายด้วยโรคอะไร เวลาก็ไม่บอกว่าจะตายเวลาใด ตายที่ไหน หลังจากตายแล้วจะไปไหน หมุนเวียนไปในคติทั้ง ๕ คือ ๑. นรก ๒. กำเนิดดิรัจฉาน ๓. เปตวิสัย ๔. มนุษย์ ๕. เทวดา

 

อธิบายโดยมีกำหนดระยะกาล

Back

ระยะกาลเวลาของมนุษย์ตอนนี้น้อยมา คนที่อยู่ได้นานคืออยู่มีชีวิตได้ถึง ๑๐๐ ปี หรือเลยร้อยปีไปนิดหน่อย แต่มีน้อยมาก พวกเขาจะต้องไปยังสัมปรายภพ ควรกุศลประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ใดที่เกิดมาแล้วไม่ตายนั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ที่มีความปลื้มใจที่สามารถมีชีวิตได้ค่ำคืนบ้าง บิณฑบาตครั้งหนึ่งบ้าง เคี้ยวคำข้าว ๔-๕ คำบ้างผู้นั้นเรียกว่าผู้ไม่ประมาท ย่อมที่จะเจริญมรณสติได้อย่างเข้มแข็งเพื่อกำจัดอาสวะกิเลส

 

อธิบายมีขณะเล็กน้อย

Back

อธิบายมีขณะเล็กน้อย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายนั้นน้อยนักมากเหมือนกับความเป็นไปแห่งจิตเดียว เหมือนกับล้อรถที่หมุนไปก็หมุนด้วยส่วนของกงเท่านั้น เมื่อหยุดก็ด้วยส่วนของกงส่วนหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ในขณะแห่งจิตเป็นอดีต สัตว์เป็นแล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ไม่ใช่จะเป็น ในขณะแห่งจิตเป็นอนาคต ไม่ใช่เป็นแล้ว ไม่ใช่กำลังเป็น แต่จะเป็น และในขณะแห่งจิตปัจจุบัน สัตว์ไม่ใช่เป็นแล้ว แก่กำลังเป็นไม่ใช่จะเป็น

ชีวิต อัตภาพและสุขทุกข์ทั้งมวลล้วนประกอบกับจิตดวงเดียว เป็นไปโดยรวดเร็ว ขันธ์ของสัตว์ที่ยังดำรงอยู่ภพนี้ เมื่อดับแล้วก็เหมือนกัน หมดไปโดยไม่มีความสืบต่อสัตว์ไม่เกิดเพราะจิตที่เป็นอนาคต เป็นอยู่เพราะจิตปัจจุบัน สัตว์โลกชื่อว่าตายเพราะความดับแห่งจิต

เมื่อผู้ปฏิบัติระลึกถึงความตายโดยอาการ ๘ อย่างนี้ มีมรณสติเป็นอารมณ์ตั้งมั่นย่อมระงับนิวรณ์ทั้งหลายที่เกิด เมื่อนิวรณ์ดับองค์ฌานก็ปรากฏ แต่เป็นฌานที่มีสภาวะอารมณ์ และเป็นอารมณ์แห่งความสลด ฌานที่ได้จึงถึงแค่อุปจารฌานเท่านั้น การประกอบมรณสตินี้อยู่เนืองๆ ก็ย่อมจะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มีความยินดีในภพทั้งหลาย ละความความใคร่ในชีวิต เป็นผู้ติเตียนบาป มีสุคติในเบื้องหน้า ตรงข้ามผู้ที่ไม่เจริญมรณสติ เมื่อถึงคราวจะตายนั้นจะเกิดความกลัว สะดุ้งเหมือนถูกยักษ์ งู โจร และเพชฌฆาตมาครอบงำ

จึงสรุปได้ว่ามรณานุสสติกัมมัฏฐานนั้นเป็นกัมมัฏฐานที่ให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาเกี่ยวกับความตายว่า ความตายนี้เกิดขึ้นกับสัตว์ทุกอย่าง ไม่มีใครจะสามารถรอดพ้นจากความตายไปได้ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา เป็นผู้ประเสริฐที่สุดก็ยังไม่พ้นจากความตายไปได้ ความตายไม่มีใครมาบอกว่าจะตายที่ไหน อย่างไร เมื่อใด เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อตายแล้วร่างกายนี้ก็ต้องเป็นอาหารของหมู่หนอน ชีวิตอยู่ได้ด้วยลมหายใจเข้าออก อาหาร เป็นต้น แต่ก็มีอายุสั้นมาก มนุษย์ตอนนี้ก็มีอายุยาวสุดก็ ๑๐๐ ปี หรือมากกว่านั้น เดียวก็ตายดังนั้น จงอย่าประมาทในการทำกุศลกรรมความดีต่าง เมื่อพิจารณามรณานุสสติกัมมัฏฐานอย่างนี้แล้วก็จะทำให้ระงับนิวรณ์เครื่องกั้นความดี ส่งผลให้ได้อุปาจารฌาน ไม่หวั่นไหวต่อความตายที่จะบังเกิด และมีสุคติในเบื้องหน้า

 

Creator : ธีรทัศน์ โรจนนาค Teeratus Rojananak 2020-Sep-25

Editor : 2020-Sep-25

  1. วิสุทธิมรรคฉบับสมบรูณ์. พระพุทธโฆสเถระ

19 พฤศจิกายน 2563

ผู้ชม 7236 ครั้ง